อินโฟกราฟิกกับงานสถิติ
กระบวนงานการจัดทำ Infographic
เนื้อหา
๒. ขั้นตอนการออกแบบ Infographic
Infographic ย่อมาจาก Information Graphic คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุค ไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด (เหตุผลเพราะมนุษย์ชอบและจดจำภาพสวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน) และในปัจุบันกำลังเป็นที่นิยมในโลกของ Social Network)
(ที่มา : www.oknation.net)
๒. ขั้นตอนการออกแบบ Infographic
๒.๑. ระบุประเด็นที่สำคัญจากบทความ
๒.๑.๑. เลือกบทความที่นำเสนอบนเว็บไซต์ www.nic.go.th เป็นข้อมูลตั้งต้น เช่น บทความเรื่อง โรคหลอดเลือดสมอง จากกลุ่ม กวส.
๒.๑.๒. อ่านบทความเพื่อหาประเด็นที่สำคัญทั้งหมด
๒.๒. สอบทานความถูกต้องของข้อมูล
นำประเด็นที่สำคัญมาสอบทานความถูกต้องกับผู้เขียนบทความว่า เข้าใจประเด็นได้ถูกต้องหรือไม่ เช่น ผู้จัดทำ Infographic เข้าใจว่า ทั่วโลก : ทุก ๖ วินาทีจะมีคนตาย ๑ คน และ ๑ ใน ๖ นั้นจะตายจากโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อสอบถามผู้เขียนแล้ว ทราบว่า ทุก ๖ วินาทีจะมีคนตาย ๑ คน และ ๑ ใน ๖ นั้นจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
ฉะนั้น ถ้ามีประเด็นไหนไม่แน่ใจ หรือตีความแล้วกำกวม ต้องถามผู้เขียนเพื่อให้ได้ความถูกต้อง
๒.๓. สรุปประเด็นการนำเสนอ
นำประเด็นที่สำคัญทั้งหมดมาแบ่งเป็นข้อๆ เพื่อเลือกนำเสนอ เนื่องจากมีประเด็นจำนวนมากต้องแบ่งหน้า infographic เป็นหลายหน้า
๒.๔. ร่างแนวคิดของรูปภาพ
ตั้งชื่อหัวเรื่องให้น่าติดตามและน่าสนใจ และระบุว่าภาพประกอบด้วยกี่ส่วน แต่ละส่วนประกอบด้วยประเด็นใด
๒.๕. จัดหารูปภาพหรือสัญลักษณ์
นำแต่ละประเด็นที่สำคัญมาตีความออกเป็นภาพ เลือกรูปหรือสัญลักษณ์เพื่อประกอบในภาพแล้วสามารถสื่อความถึงประเด็นที่สำคัญนั้นได้
๒.๖. การทำกราฟิก
ทำกราฟิกด้วยโปรแกรมสร้างภาพ เช่น Adobe Photoshop โดยการสร้าง layout ก่อน จากนั้นนำรูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่เตรียมไว้มาวางลงบน Layout ให้ได้รูปตามที่ร่างไว้
๒.๗. ตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์
ตรวจสอบว่ารูปหรือกราฟิกที่นำมาใช้มีการระบุที่มาหรือแหล่งอ้างอิงครบทุกรูปหรือไม่
๒.๘. การนำขึ้นแสดงบนหน้าเว็บ
นำอินโฟกราฟิกที่ได้วางไว้บนข้อมูลเด่นของหน้าแรก และอยู่ในเมนูย่อยชื่ออินโฟกราฟิกของเมนูหลักชื่อข้อมูลและสารสนเทศสถิติ
๓.๑. ในหนึ่งหน้า เป็นได้ทั้ง แนวนอนและแนวตั้ง
๓.๒. ผู้จัดทำ/วันที่
กรณีตัวอย่าง ภัย....เงียบ จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
๑.ระบุประเด็นที่สำคัญจากบทความ
๑. ระบุประเด็นที่สำคัญจากบทความ
๑.๑. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) (จากบทความวิเคราะห์ เรื่องภัย...เงียบ จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง)
๑.๒. ข้อมูล
๑.๒.๑. ทั่วโลก : ทุก ๖ วินาทีจะมีคนตาย ๑ คน และ ๑ ใน ๖ นั้นจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
๑.๒.๒. ประเทศไทย : ทุก ๑๐ นาทีจะมีคนตาย ๑ คน และ ทุก ๔ นาทีจะมีคนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
๑.๒.๓. กราฟแสดง อัตราผู้ป่วยในของโรคหลอดเลือดสมอง ต่อประชากรหนึ่งแสนคน พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๓
๑.๒.๔. ชาย และ หญิง
๑.๒.๔.๑. โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชิวิต : อันดับ (หญิง สูงกว่า ชาย)
๑.๒.๔.๒. อัตราป่วยต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน : จำนวน (ชาย(๓๙๕.๘๘) สูงกว่า หญิง (๓๑๔.๓๓))
๑.๒.๕. อาการของโรค (F,A,S,T)
๑.๒.๖. สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในอีก ๑๕ ปี (…..) โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับ ๒ ของคนที่มีอายุมากว่า ๖๐ ปี
๑.๒.๗. ผลกระทบ
๑.๒.๗.๑. เสียชีวิต , พิการ
๒.๑. สอบทานข้อมูล ทั่วโลก
ผู้จัดทำ Infographic เข้าใจว่า ทั่วโลก : ทุก ๖ วินาทีจะมีคนตาย ๑ คน และ ๑ ใน ๖ นั้นจะตายจากโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อสอบถามผู้เขียนแล้ว ทราบว่า ทุก ๖ วินาทีจะมีคนตาย ๑ คน และ ๑ ใน ๖ นั้นจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
๓.๑. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
๓.๒. ทุก ๑๐ นาทีจะมีคนตาย ๑ คน และ ทุก ๔ นาทีจะมีคนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
๓.๓. อาการของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีต่อรางกาย ต้องพบแพทย์
๓.๔. สถิติโรคหลอดเลือดสมองชายหญิง การเสียชีวิติ ของผู้ป่วยในโรคหลอดเลือดสมอง ของชายและหญิง โอกาสที่ผู้หญิงจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ชาย
๓.๕. อัตราผู้ป่วยในของโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรหนึ่งแสนคน
๔.๑. ส่วนที่ ๑ : หัวเรื่อง : ภัย...เงียบ จากโรคหลอดเลือดสมอง แทนด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่และเด่นชัด และมีรูปโรคหลอดเลือดสมองวางไว้กลางภาพ
๔.๒. ส่วนที่ ๒ : ทุก ๑๐ นาทีจะมีคนตาย ๑ คน และ ทุก ๔ นาทีจะมีคนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
๔.๓. ส่วนที่ ๓ : อาการของโรคใช้สัญลักษณ์ในการอธิบาย
๔.๔. ส่วนที่ ๔ : สถิติโรคหลอดเลือดสมองชายหญิง การเสียชีวิติ ของผู้ป่วยในโรคหลอดเลือดสมอง ของชายและหญิง โอกาสที่ผู้หญิงจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ชายจะใช้สัญลักษณ์ชายหญิงในการอธิบาย
๔.๕. ส่วนที่ ๕ : อัตราผู้ป่วยในของโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรหนึ่งแสนคน
ระบุแหล่งที่มาหรือแหล่งอ้างอิงให้ครบทุกรูป
ฮิต: 6474