บทความวิเคราะห์
มองส่งออกไทย..ไปตลาด CLMV
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การส่งออกถือว่าเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลี่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากการส่งออกสินค้า ทั้งสินค้าภาคเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม เช่น ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ดาวน์โหลดไฟล์ (.pdf) ได้ที่นี่
วันที่เผยแพร่ : วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มบริหารระบบสารสนเทศ โทร.๐-๒๑๔๑-๗๔๐๓
เพิ่มองศา พาประหยัด
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรทำให้ภูมิอากาศของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น ประกอบกับภาวะโลกร้อนที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยต้องอยู่ในสภาพ อากาศที่ร้อนจัด ดังนั้นจึงต้องหาวิธีคลายร้อน ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะช่วยคลายร้อนคือการใช้เครื่องปรับอากาศนั่นเอง แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องปรับอากาศนั้นใช้พลังงานไฟฟ้ามากน้อยเพียงไร บทความนี้จึงอยากสะท้อนภาพให้เห็นถึง แนวโน้มของการใช้เครื่องปรับอากาศในสังคมไทย การใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ ความประหยัด จากการปรับตั้งอุณหภูมิที่สูงขึ้น รวมถึงแนวทางในการใช้เครื่องปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ดาวน์โหลดไฟล์ (.pdf) ได้ที่นี่
ดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ที่นี่
วันที่เผยแพร่ : วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มประสานและติดตามสารสนเทศ โทร.๐-๒๑๔๑-๗๔๐๐
สูงวัย....ใจสตรอง
ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบว่า ในปี ๒๕๕๓ มีผู้สูงอายุร้อยละ ๑๑ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๕.๖ ในปี ๒๕๕๘ และในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ ๒๒.๘ ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (UN) จะถือว่าประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และการที่ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น ส่วนหนึ่งทำให้ผู้สูงอายุได้เข้ามามีบทบาทในด้านกำลังแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุยังทำงานหลังวัยเกษียณและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ดาวน์โหลดไฟล์ (.pdf) ได้ที่นี่
ดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ที่นี่
วันที่เผยแพร่ : วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๙
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มประสานและติดตามสารสนเทศ โทร.๐-๒๑๔๑-๗๔๐๐
วิกฤติ ขยะมูลฝอย ล้นเมือง (ไหน)
“ขยะมูลฝอย” สิ่งที่มนุษย์ถือเป็นสิ่งด้อยค่าและน่ารังเกียจ จนในปัจจุบันปริมาณสะสมมหาศาลของขยะมูลฝอยกำลังจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ทุกประเทศรวมถึงประเทศไทยต่างก็ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และพยายามที่จะลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น สำหรับประเทศไทยพบว่ามีหลายพื้นที่ที่กำลังประสบกับปัญหาขยะมูลฝอยสะสมที่มีจำนวนมากจนไม่สามารถกำจัดขยะได้ทันกับปริมาณที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดาวน์โหลดไฟล์ (.pdf) ได้ที่นี่
ดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ที่นี่
วันที่เผยแพร่ : วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๙
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มประสานและติดตามสารสนเทศ โทร.๐-๒๑๔๑-๗๔๐๐
กีฬาไทย...จะก้าวไกลสู่สากล
จากกระแสความนิยมของคนทุกเพศทุกวัย ที่ต่างก็หันมาให้ความสำคัญกับการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายมากขึ้น เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ ทั้งช่วยทำให้สุขภาพ ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยคลายเครียด ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า นอนหลับสบาย มีบุคลิกภาพดีขึ้น ซึ่งการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเพียงวันละ ๓๐ นาที และงดเว้นสิ่งเสพติดทั้งหลาย จะช่วยให้ร่างกาย เผาผลาญไขมันส่วนเกิน ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง ได้อีกด้วย
ดาวน์โหลดไฟล์ (.pdf) ได้ที่นี่
ดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ที่นี่
วันที่เผยแพร่ : วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๙
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มประสานและติดตามสารสนเทศ โทร.๐-๒๑๔๑-๗๔๐๐
ระบบโลจิสติกส์ไทยกับนโยบายการพัฒนาสู่อาเซียน
โลจิสติกส์ เป็นส่วนของการบริหารจัดการระบบห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งรวมเรื่องของการวางแผน การดำเนินการ การควบคุม การไหลเวียน และการจัดเก็บสินค้า บริการ และสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดของ การบริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งมีความจาเป็นต่อหน่วยงานทั้งในส่วนของภาคราชการและภาคเอกชน ภาคการผลิตและภาคบริการ เพราะการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถลดความสูญเสียในภาคการผลิต ลดเวลาที่ใช้ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจได้
ดาวน์โหลดไฟล์ (.pdf) ได้ที่นี่
ดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ที่นี่
วันที่เผยแพร่ : วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มวิเคราะห์สารสนเทศ โทร.๐-๒๑๔๑-๗๓๘๗
จับตา... โรงงานอุตสาหกรรม หลังวิกฤตการณ์น้ำท่วม
วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย ปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาถือว่าเป็นครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ ๕๐ ปี ส่งผลกระทบให้พื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรมหลายร้อยแห่งต้องหยุดกิจการ และสิ่งที่หลายคนสนใจ คือผลกระทบต่อการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ และส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน ทั้งนี้เพราะการลงทุนจากต่างประเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ดาวน์โหลดไฟล์ (.pdf) ได้ที่นี่
ดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ที่นี่
วันที่เผยแพร่ : วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มวิเคราะห์สารสนเทศ โทร.๐-๒๑๔๑-๗๓๘๗
ออมเงิน - เงินออม ภูมิคุ้มกันของครอบครัว
เงินออมสิทธิ ของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ - ๒๕๕๖ จากข้อมูลของธนาคารโลก พบว่าประเทศไทยมีระดับการออมเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปี ๒๕๔๖ - ๒๕๕๐ แต่หลังจากปี ๒๕๕๐ หรือหลังจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ระดับการออมของคนไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การออมของกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อย ส่วนระดับการออมของกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
ดาวน์โหลดไฟล์ (.pdf) ได้ที่นี่
วันที่เผยแพร่ : วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๘
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มประสานและติดตามสารสนเทศ โทร.๐-๒๑๔๑-๗๔๐๐
เนื้อร้าย ทำลายปอด
มะเร็งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตมนุษย์ ที่จะกล่าวถึงนี้คือ "มะเร็งปอด" มะเร็งปอดเป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งของหลอดลมและปอด อัตราการเกิดโรคนี้เป็นอันดับที่หนึ่งในเพศชายและอันดับที่สี่ของเพศหญิง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงมีหลายประการ แต่ปัจจัยหลักเกิดจากการสูบบุหรี
ดาวน์โหลดไฟล์ (.pdf) ได้ที่นี่
ดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ที่นี่
วันที่เผยแพร่ : วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๗
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มวิเคราะห์สารสนเทศ โทร.๐-๒๑๔๑-๗๓๙๘
สถานการณ์ “นักวิทยาศาสตร์” ไทย
วิทยาศาสตร์ถือเป็นรากฐานพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้การที่วิทยาศาสตร์จะ พัฒนา ต่อไปจนเ กิด เป็นนวัต กรรมใหม่ได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีความความสามารถ รวมถึงทักษะความเชี่ยวชาญนั้นๆ อย่างถ่องแท้ ซึ่งถือเป็นกุญแจขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยจากการจัดอันดับโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Infrastructure) ของจากทั้งหมด ๖๐ ประเทศนั้น ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ต่ำกว่าประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย
ดาวน์โหลดไฟล์ (.pdf) ได้ที่นี่
ดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ที่นี่
วันที่เผยแพร่ : วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๗
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มประสานและติดตามสารสนเทศ โทร.๐-๒๑๔๑-๗๔๐๐